5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเซ็นสัญญาเงินกู้ หรือให้ใครยืนเงิน!

  1. รู้จักกับสัญญาเงินกู้ให้ดีเสียก่อน

สัญญากู้ยืมเงินหรือสัญญาเงินกู้เป็นสัญญาที่จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายมั่นใจว่าการกู้ยืมครั้งนั้นจะยุติธรรม และถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้ทุกอย่างในการยืมเงินซึ่งกันและกัน ตรงนี้จึงมีคำถามตามมาเช่นกันว่าแล้วสัญญาเงินกู้แบบนี้ต่างกันมั้ยกับเงินกู้ด่วนนอกระบบ บอกได้เลยว่าต่างแน่นอน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าอันไหนคือเงินกู้นอกระบบ อันไหนคือการทำสัญญาเงินกู้ทั่วไป

*เงินด่วนนอกระบบไม่ดาวน์รถไม่โอนเงิน นัดทำสัญญานั่นเอง

  1. ศึกษากฎหมายกู้ยืมเงินก่อน

– กฎหมายสัญญาเงินกู้ปี 2024 ระบุไว้ว่า การกู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ต้องทำสัญญาการกู้ยืมและต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้อยู่ในสัญญาดังกล่าว หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
– แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืม ห้ามเกิน 15% ต่อปี หากเจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 15% ต่อปี ให้ถือว่าดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะ

– อายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากมีการผิดสัญญากันเกิดขึ้น ต้องฟ้องร้องกันภายใน 10 ปีนับตั้งแต่กำหนดวันชำระเงินคืน แต่ถ้าสัญญากู้ยืมนั้นเป็นสัญญาที่มีกำหนดการคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ คดีที่ฟ้องร้องจะมีอายุความเพียง 5 ปีเท่านั้น

 

  1. ตรวจสอบสัญญากู้ยืมเงินให้รอบคอบก่อนลงลายมือชื่อ

เนื่องด้วยการกู้ยืมเงินเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมากๆ เพราะมีเรื่องเงินๆ ทองๆ เข้ามามีส่วนร่วมได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องมีสติทุกครั้งก่อนการเซ็นหรือลงลายมือชื่อในสัญญา เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญาทุกบรรทัดอย่างรอบคอบ ในกรณีถ้าไม่อ่านแบบละเอียดแล้วล่ะก็เราอาจจะเสียเปรียบได้

* นี่คือสิ่งที่ต้องมีในหนังสือสัญญาเงินกู้

– วันที่ทำสัญญากู้เงิน

– ชื่อผู้กู้, ชื่อผู้ให้กู้

– จำนวนเงินที่กู้

– กำหนดการชำระคืน

– ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี)

– ลายเซ็นผู้กู้

– ลายเซ็นผู้ให้กู้ (มีหรือไม่มีก็ได้)

 

  1. เอกสารที่ต้องใช้ในการขอกู้ยืมเงิน

โดยเอกสารประจำตัวผู้กู้ สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง

– สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ทะเบียนหย่า หรือ ใบมรณบัตร อย่างใดอย่างหนึ่ง

– สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)

– หากเป็นนิติบุคคล ให้ใช้สำเนาทะเบียนการค้า หรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

– เอกสารเกี่ยวกับรายได้หรือเอกสารบอกที่มาของรายได้ของผู้กู้

– ใบรับรองเงินเดือน หรือ หลักฐานการรับเงินเดือนจากนายจ้าง

– สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับผู้มีรายได้ประจำ

– สัญญาจ้าง หรือ หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับผู้ทำอาชีพอิสระ

– ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ บัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอด สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ

– หลักฐานรายได้อื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร ฯลฯ

  1. จุดที่ควรระวังในการทำสัญญาเงินกู้

มาถึงสิ่งที่ต้องควรระวังในการทำสัญญาเงินกู้กันบ้าง นอกจากที่เราจะต้องตรวจสอบให้รอบคอบกันแล้วก่อนลงลายมือชื่อ ก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องระวังด้วยเช่นกัน คือ การเซ็นสัญญาโดยที่ไม่ระบุจำนวนเงิน ตรงนี้จำเป็นที่จะต้องให้อีกฝ่ายระบุจำนวนเงินก่อนทำการเซ็น หลังจากเซ็นเสร็จต้องเก็บหลักฐานการเซ็นเอาไว้กับตัวเองด้วย อีกทั้งยังต้องอย่าลืมทำสัญญาออกเป็นสองฉบับเพื่อป้องกันในการปลอมแปลงเอกสารนด้วยนั่นเอง